เมนู

ที่ชื่อว่า อุปาทานิยะ เพราะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่อุปทานทั้งหลาย โดย
เข้าถึงความเป็นอารมณ์แล้วสัมพันธ์กับอุปาทาน. คำว่า อุปาทานิยะ นี้
เป็นชื่อของธรรมที่เป็นอารัมมณปัจจัยของอุปาทาน. ชื่อว่า อุปาทินนุปาทา-
นิยะ
เพระอรรถว่า เป็นอุปาทินนะด้วยเป็นอุปาทานิยะด้วย คำว่า อุปา-
ทินนุปาทานิยะ
นี้ เป็นชื่อของรูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายอันบังเกิดขึ้น
ด้วยกรรมที่มีอาสวะ. ใน 2 บทที่เหลือ พึงทราบเนื้อความอันประโยชน์เกื้อกูล
แก่การปฏิเสธโดยนัยนี้.

ว่าด้วยสังกิลิฏฐติกะที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งสังกิลิฏฐสังกิเลสสิกธรรม ต่อไป
ธรรมที่ชื่อว่า สังกิเลส เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เศร้าหมอง.
อธิบายว่า ย่อมเบียดเบียน คือให้สัตว์เร่าร้อน. ที่ชื่อว่า สังกิลิฏฐะ เพราะ
ประกอบพร้อมแล้วด้วยสังกิเลส. ชื่อว่า สังกิเลสิกะ เพราะอรรถว่า ย่อม
ควรแก่สังกิเลสโดยทำตนให้เป็นอารมณ์เป็นไป หรือว่าเข้าไปประกอบใน
สังกิเลส โดยความไม่ก้าวล่วงความเป็นอารมณ์ของสังกิเลสนั้น. คำว่า สังกิเล-
สิกะ
นี้ เป็นชื่อของธรรมทั้งหลายที่เป็นอารัมมณปัจจัยของสังกิเลส. ชื่อว่า
สังกิลิฏฐสังกิเลสกะ เพราะอรรถว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นสังกิลิฎฐะด้วยเป็น
สังกิเลสิกะด้วย สอง บทที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในติกะต้นนั่นแหละ.

ว่าด้วยวิตักกติกะที่ 6



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งวิตักกะ ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า สวิตักกะ เพราะเป็นไปกับด้วยวิตก คือเป็นไปอยู่
ด้วยสู่มารถแห่งสัมปโยคะ ธรรมที่ชื่อว่า สวิจาระ เพราะเป็นไปกับด้วยวิจาระ

ธรรมที่ชื่อว่า สวิตักกสวิจาระ เพราะธรรมเหล่านั้นมีวิตกและมีวิจาร. ธรรม
ที่เว้นจากวิตกและวิจารทั้งสอง ชื่อว่า อวิตักกอวิจาระ ธรรมที่ชื่อว่า
วิจารมัตตะ (สักว่าวิจาร) เพราะอรรถว่า บรรดาวิตกและวิจาร ธรรมมีเพียง
วิจารเท่านั้นเป็นประมาณ อธิบายว่า ธรรมนั้นนอกจากวิจารแล้ว ย่อมไม่
สัมปโยคะกับวิตก. ธรรมเหล่านั้นไม่มีวิตกด้วย มีเพียงวิจารด้วย เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อวิตักกวิจารมัตตา.

ว่าด้วยปีติติกะที่ 7



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งปีติธรรม ต่อไป.
ธรรมที่ชื่อว่า ปิติสหคตะ เพราะอรรถว่า ถึงภาวะแห่งสัมปโยคะ
มีการเกิดพร้อมกันเป็นต้นร่วมกับปีติ อธิบายว่า สัมปยุตด้วยปีติ. แม้ใน 2
บทที่เหลือก็นัยนี้แหละ ก็อทุกขมสุขเวทนาท่านกล่าวไว้ในบทที่ 3 นี้ว่า
อุเบกขา เพราะว่า อุเบกขานั้นเข้าไปเพ่งเฉยอยู่ซึ่งความเป็นไปแห่งอาการ
ของสุขและทุกข์ คือ ไม่ให้เป็นไปอยู่ตามอาการแห่งสุขและทุกข์นั้น จึงชื่อว่า
อุเบกขา เพราะความดำรงอยู่โดยอาการแห่งความเป็นกลาง เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวติกะนี้ โดยถือเอา 2 หมวดจากเวทนาติกะนั่นแหละ แล้วแสดง
สุขไม่มีปีติให้แปลกจากสุขที่มีปีติ.

ว่าด้วยทัสสนติกะที่ 8



พึงทราบวินิจฉัยในหมวด 3 แห่งทัสสนธรรม ต่อไป.
บทว่า ทสฺสเนน ได้แก่โสดาปัตติมรรค จริงอยู่ โสดาปัตติมรรคนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทัสสนะ เพราะเห็นพระนิพพานครั้งแรก ส่วน
โคตรภูญาณ ย่อมเห็นพระนิพพานก่อนกว่าแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น โคตรภูญาณ